สรุปผล การสัมมนา สถาบันหลัก / สถาบันสมทบ ของศูนย์การศึกษาต่อเนื่องของแพทย์
พุธที่ 21 ก.ค. 2553 ห้องประชุมนพ.ไพจิตร ปวะบุตร อ.7 ชั้น 9 ตึกสำนักงานปลัดฯ สธ.
ปาฐกถาพิเศษ “บทบาทของแพทย์ต่อการศึกษาต่อเนื่อง” โดย ฯพณฯ องคมนตรี ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย
- โรงเรียนแพทย์ทุกแห่งต้องผลิตแพทย์ที่มีองค์ความรู้ที่ใกล้เคียงกัน การศึกษาต่อเนื่องของแพทย์เมื่อจบมาจากโรงเรียนแพทย์แล้ว จึงมีส่วนอย่างมากที่จะทำให้แพทย์มีความรู้ที่ทันต่อโลกที่เปลี่ยนแปลงไป
- แพทยสภาควรจะต้องจัดอนุกรรมการ ชุดผู้เชี่ยวชาญ ที่สามารถมองภาพรวมเพื่อปรับยุทธศาสตร์ รับการเปลี่ยนแปลงทางการแพทย์ในอนาคต และสร้างภาคีของการมีส่วนร่วม โดยเฉพาะในเรื่อง “Health Impact of Climate Change”
- ศ.น.พ. ควรต้องทำงาน โดย ลดขั้นตอน สร้างความเรียบง่าย คงคุณภาพ สร้างความรู้ทางการแพทย์เพื่อสร้างนักวิชาชีพ
- แพทย์ต้องเป็นผู้มั่นเรียนรู้ เพื่อสร้างความมั่นใจในการปฏิบัติงาน ทั้งต่อตัวเอง เพื่อนร่วมวิชาชีพ และ ประชาชน
- เราคงไม่สามารถลดจำนวนผู้ฟ้องหมอเพื่อเงินได้ แต่เราสามารถสร้างความเข้าใจแก่ผู้ที่รับรู้โดยบริสุทธิ์ใจถึงเจตนาการทำงานของแพทย์ได้
- พร้อมกันนี้ได้ยกพระบรมราโชวาทที่พระราชทานให้หมู่คณะ ในโอกาสต่างๆ ดังนี้
- หน้าที่ของแต่ละบุคคลจะมีสิ่งสำคัญ 2 อย่าง คือจะต้องสร้างตัวเองให้มีความเจริญรุ่งเรือง สามารถที่จะทำงานทำการในแนวของตัว เพื่อที่จะเลี้ยงชีวิตและอีกด้านหนึ่งก็คือช่วยส่วนรวมได้อยู่ดีกินดี (พระบรมราโชวาทเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2525)
- “คนไม่มีความสุจริต คนไม่มีความมั่นคงชอบแต่มักง่าย ไม่มีวันจะสร้างสรรค์ ประโยชน์ส่วนรวมที่สำคัญอันใดได้ ผู้ที่มีความสุจริตและมุ่งมั่นเท่านั้น จึงจะทำงานสำคัญยิ่งใหญ่ที่เป็น คุณประโยชน์แท้จริงได้สำเร็จ...” (พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 12 กรกฎาคม 2522)
- “...การทำสิ่งที่ดีงามนั้น ไม่ใช่ของที่พ้นสมัยหรือ ที่น่ากระดากอาย หากเป็นของที่ทุกคนทำได้ไม่ยากและให้ผลตอบแทนอย่างคุ้มค่า เพราะความดีนั้นทรงค่า และทรงผลดีอยู่ตลอดกาลมิได้เปลี่ยนแปลงมีแต่ค่านิยมในความดีเท่านั้นที่เปลี่ยนแปลงไป...” (พระราชดำรัสพระราชทานเพื่ออัญเชิญไปอ่าน ในพิธีเปิดการประชุมยุวพุทธิกสมาคมแห่งชาติ ครั้งที่ 13 วันที่ 13 เมษายน 2516)
- “...การพัฒนานี้ก็ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจทั้งสองอย่าง คือจิตใจที่หวงแหนที่ดินทำกินของเรา หวงแหนผืนแผ่นดินของเรา และจิตใจที่จะต้องช่วยเหลือกัน เพราะทุกคนเป็นสมาชิกของประเทศคือเป็นชาวไทยทุกคน...” (พระราชดำรัสในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมโครงการ ที่โรงเรียนร่มเกล้าบ้านคลองทราย อำเภอวัฒนานคร จังหวัดปราจีนบุรี 2 กรกฎาคม 2524)
- “...ความสามัคคีและความถือตัวว่าเป็นไทยเป็นสมบัติมีค่าสูงสุด เพราะเป็นมรดกที่เราได้รับสืบต่อจากบรรพบุรุษและเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราดำรงชาติประเทศและเอกราชสืบมาได้ ทุกคนจะต้องรักษาความเป็นไทยและความสามัคคีนี้ไว้ให้มั่นคง...” (พระบรมราโชวาทพระราชทานสามัคคีสมาคม ในพระบรมราชูปถัมภ์เพื่อเชิญไปอ่านในการประชุมใหญ่ประจำปี ครั้งที่ 56 วันที่ 2-10 สิงหาคม 2512)
- “...การปิดทองหลังพระนั้น เมื่อถึงคราวจำเป็นก็ต้องปิด ว่าที่จริงแล้วคนโดยมากไม่ค่อย่ชอบปิดทองหลังพระกันนัก เพราะนึกว่าไม่มีใครเห็น แต่ถ้าทุกคนพากันปิดทองแต่ข้างหน้า ไม่มีใครปิดทองหลังพระเลย พระจะเป็นพระที่งามบริบูรณ์ไม่ได้...” (พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 25 กันยายน 2506)
- “ทำงานกับฉัน ฉันไม่มีอะไรให้นอกจากการมีความสุขร่วมกัน ในการทำประโยชน์แก่ผู้อื่น” (พระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว)
“แผนยุทธศาสตร์ และ การปรับปรุงประเภทกิจกรรมใหม่” โดย ผอ.ศ.น.พ.
- การนำเสนอการศึกษาข้อมูลปรับยุทธศาสตร์สร้างความเข้าใจ
- จุดอ่อน จุดแข็ง หาแนวทางปฏิบัติ
- พันธกิจ วิสัยทัศน์ ปรับกิจกรรม R2C
- เกิดการยอมรับเตรียมรับ กฤษฎีกา
- ทำอย่างไรให้ CME มีคุณค่าและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อวงการแพทย์ไทย
- การเพิ่มประเภทกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง จาก 36 กิจกรรม เป็น 44 กิจกรรม
ภาคเช้า การอภิปรายกลุ่ม
คุณ ธนัช กรองกันภัย
- ผมเคยฟ้องแพทย์ เป็นจำนวนเงิน กว่า 70 ล้านบาท ในกรณีภรรยาคลอดลูกคนที่สี่ แล้วเกิดการตกเลือด แพทย์ต้องช่วยเหลือด้วยการผ่าตัด แต่คราวนี้ได้ตัดโดนท่อปัสสาวะไปด้วย ภรรยาผมใช้เวลารักษาตัว ปีครึ่ง กว่าจะกลับสู่สภาพเดิมได้
- ต้องขอบคุณ อาจารย์หมอสมศรี เผ่าสวัสดิ์ ที่ทำให้ผมได้มองเห็นแพทย์ในอีกมุมมองหนึ่ง และทำให้ผมให้อภัยกับสิ่งที่เกิดขึ้น ผมและครอบครัวได้เห็นธรรมะ จากการอโหสิกรรมในครั้งนี้ และหันมาปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง
- อยากฝากถึงแพทย์ทุกท่านว่า ในมุมมองของผู้ป่วย เขาได้ฟากความหวังในการรักษา ไว้ในมือ และความสามารถของพวกท่าน ถ้าท่านทำจนสุดความสามารถของท่านแล้ว เชื่อว่าผู้ป่วยทุกคนคงเข้าใจและไม่มีใครอยากฟ้อง หรือทำให้ท่านเสียกำลังใจจากการทำหน้าที่ของท่านได้
อาจารย์เสงี่ยม บุญจันทร์
- บุคคลจะบอกว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้พ้นผิดนั้นไม่ได้
- คะแนนกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องของแพทย์ สามารถใช้ประกอบในรูปคดีได้ อย่างน้อยศาลก็จะสืบดู ลักษณะ พฤติกรรมของแพทย์ผู้ถูกร้องเรียน ว่า มีความใส่ใจในการพัฒนาตนเองในการทำเวชปฏิบัติอย่างไร
อาจารย์สมเกียรติ วัฒนศิริกุลชัย
- ผู้บริหารที่ฉลาด จะต้องเอาวิชาการมาเป็นตัวช่วยในการบริหารด้วย ให้เป็นตัวชี้วัดองค์กรเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ
- ในอนาคต เมื่อทุกคนเห็นความสำคัญของ CME แล้ว ต่อไปเราก็จะก้าวข้ามไปทำ CPD [Continuing Professional Development] เหมือนในบางประเทศที่เขาพัฒนาไปแล้ว
อาจารย์เอื้อชาติ กาญจนพิทักษ์
- ตั้งแต่เกิดมา มีใครไม่เคยเดินสะดุดเท้าตัวเองบ้าง เวลาทานข้าวมีใครไม่เคยกัดโดนลิ้นตัวเองบ้าง เวลาเราทำตัวเราเอง เราไม่เคยโทษตัวเอง แต่ถ้าคนอื่นทำเรา เรายอมไม่ได้ ใช่หรือไม่
- การพัฒนาตนเองในเรื่องวิชาชีพเป็นหน้าที่ของทุกคนอยู่แล้ว
- เมื่อจบแพทย์มา ทุกคนก็เรียนรู้อยู่ตลอดเวลาแต่อาจไม่รู้ตัว เช่น การประชุมตอนเช้า (morning conference) การประชุมยาตัวใหม่ๆ เป็นต้น
ภาคบ่าย การอบรมเชิงปฏิบัติการ CME Software 5.0
- วิธีปฏิบัติสำหรับการเข้าใช้งาน ที่ปรับปรุงจาก CME Software Version 4.0 เป็น 5.0
- หากท่านใดที่มีปัญหาสามารถติดต่อได้ที่ คุณเสาวนีย์ เอี่ยมปรีดา และคุณวรวุธ จำรัสศรี
โทรศัพท์ 02-642-7163