\"\"

 

สำนักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ( สวทช. ) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ มูลนิธิสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ประกาศและพิธีมอบทุน  NSTDA Chair Professor ประจำปี 2556  สนับสนุนงบประมาณทุนวิจัย  20 ล้านบาทให้กับ ศ.ดร. วันเพ็ญ ชัยคำภาและทีมวิจัย เพื่อต่อยอดองค์ความรู้และสร้างนวัตกรรมด้านโรคติดเชื้อชนิดเฉียบ พลันและเรื้อรัง ระยะเวลา 5 ปี เพื่อทำการวิจัยผลิตแอนติบอดีสำหรับรักษาโรคตับอักเสบชนิดซีเพื่อป้องกันการ เกิดมะเร็ง ตับแข็งหรือตับวาย โรคจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่  ไข้หวัดนกและโรคภูมิแพ้ ทั้งนี้ภายในงาน ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และ ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ประธานมูลนิธิสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ร่วมเป็นประธานในงานดังกล่าว ทั้งนี้ภายในงานยังได้จัดให้มีการนำเสนอความก้าวหน้าโครงการทุน NSTDA Chair Professor ของ ศาสตราจารย์ที่เป็นผู้นำกลุ่ม 2 ท่าน ได้แก่ ศ.ดร. จำรัส ลิ้มตระกูล ผู้ได้รับทุน NSTDA Chair Professor ประจำปี 2552 โดยนำเสนอผลงานเรื่อง “การออกแบบและ การผลิตวัสดุนาโนที่เป็นประโยชน์อย่างสูงต่ออุตสาหกรรม” และ ศ. ดร. พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์ ผู้ได้รับทุน NSTDA Chair Professor ประจำปี 2554 นำเสนอความก้าวหน้าโครงการเรื่อง “การปรับปรุงเพื่อเร่งการปลูกเลี้ยงสบู่ดำพันธุ์ใหม่ สำหรับเป็นพลังงาน และอาหารสัตว์” ณ อาคารหอประชุมสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2557 ด้วย

\"\"

ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ( สวทช.) กล่าวว่า สำหรับ “โครงการทุน NSTDA Chair Professor ประจำปี 2556” เป็นทุนที่ 3 ที่สนับสนุนโดยมูลนิธิสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ สวทช. ได้เปิดรับสมัครข้อเสนอโครงการวิจัย โดยมีขอบเขตในด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยมุ่งหวังจะเป็นการยกระดับความสามารถในการวิจัยและพัฒนาของ ประเทศไทย เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทยด้านสุขภาพและการแพทย์ ทั้งนี้ สวทช. ได้รับข้อเสนอโครงการ จากนักวิจัยชั้นแนวหน้าของประเทศ จากหลากหลายสถาบัน ซึ่งทุกโครงการได้ผ่านการพิจารณาอย่างเข้มงวด จากผู้เชี่ยวชาญและคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นที่ยอมรับในวงการวิชาการมาเป็นเวลานาน เกณฑ์พิจารณาคัดเลือก ได้พิจารณาทั้งคุณสมบัติของหัวหน้าโครงการ โดยพิจารณาจากความสามารถทางวิชาการ  ความเป็นผู้นำทีมวิจัย และการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม และยังพิจารณาเนื้อหาโครงการวิจัย โดยเน้นที่การผลิตผลงานที่มี ศักยภาพที่สามารถเชื่อมโยงไปสู่การใช้ประโยชน์ได้จริง ทั้งในภาคการผลิตและบริการ และ/หรือ ภาคสังคมโดยรวม  ความเป็นเลิศ ของคุณภาพทางวิชาการ ความคิดริเริ่มระดับนานาชาติ


ทั้งนี้การดำเนินงานของโครงการทุน NSTDA Chair Professor ที่ผ่านมา  ถึงแม้ว่ามูลนิธิสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จะ เป็นผู้สนับสนุนงบประมาณทั้งหมดของโครงการฯ แต่ด้วยการบริหารจัดการที่ดีของ สวทช. ร่วมกับ ความเชื่อมโยงของแนวคิดจากภาคอุตสาหกรรม ได้แก่ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด จึงส่งผลให้การดำเนินงานของโครงการฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ


ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ประธานมูลนิธิสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ กล่าวว่า มูลนิธิสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้เล็งเห็นถึงความ สำคัญของการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี ของประเทศ จึงสนับสนุนงบประมาณให้แก่โครงการทุน NSTDA Chair Professor โดย มุ่งหวังว่า “Chair Professor” หรือ “ศาสตราจารย์ที่เป็นผู้นำกลุ่ม” นี้ จะเป็นผู้ขับเคลื่อนให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างภาคการผลิตและ บริการเข้ากับภาคการศึกษาในด้านการวิจัยและพัฒนา ต่อยอดทางวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้องให้มีความครอบคลุมและมั่นคง ยิ่งขึ้น สร้างผลงานวิจัยที่มีศักยภาพไปสู่การใช้ประโยชน์ได้จริง ทั้งในภาคการผลิตและบริการ และ/หรือ ภาคสังคมโดยรวม


โดยมูลนิธิ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากัตริย์หวังว่าโครงการทุน “NSTDA Chair Professor”   จะเป็นโครงการนำร่อง ที่ช่วยกระตุ้นให้ภาคเอกชนหันมาสนใจและเล็งเห็นถึงความสำคัญของ การมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยีของประเทศไทย และร่วมกันสร้างและสนับสนุน Chair Professor หรือ ศาสตราจารย์ที่เป็นผู้นำกลุ่มวิจัย ที่มีศักยภาพสูงตามมหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานวิจัยทั่วประเทศไทย ให้มีมากขึ้น เพื่อความเข้มแข็งของประเทศจากการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นแกนนำได้ต่อไปในอนาคต
ศาสตราจารย์ ดร. วันเพ็ญ ชัยคำภา คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า จากการที่ได้รับทุน NSTDA Chair Professor ประจำปี 2556 ในครั้งนี้มี วัตถุประสงค์ทำการวิจัยเพื่อต่อยอดองค์ความรู้และสร้างนวัตกรรมด้าน โรคติดเชื้อชนิดเฉียบพลัน และเรื้อรัง และโรคภูมิแพ้ ในการผลิตแอนติบอดี หรือภูมิคุ้มกันของคนที่พร้อมใช้สำหรับรักษาโรคไข้หวัดใหญ่/ไข้ หวัดนก ในผู้ที่ติดเชื้อไวรัสดื้อยาหรือเป็นกลุ่มเสี่ยง ต่อการเกิดอาการรุนแรงเมื่อติดเชื้อและอาจเสียชีวิตได้ เช่นผู้สูงวัย เด็กทารก หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวบางอย่างที่ทำให้ภูมิคุ้มกันพร่อง แอนติบอดีเหล่านี้สามารถรักษาโรคจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่/ไข้หวัดนกสาย พันธุ์ใดก็ได้ เป็นภูมิคุ้มกันที่สามารถฉีดให้แก่ผู้ป่วยและออกฤทธิ์ต้านไวรัส ได้ทันที โดยไม่ต้องรอให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเอง


ซึ่งจะต่างจาก วัคซีนที่ต้องรอเป็นเวลา 7-10 วัน กว่าที่ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันออกมา จะไม่ทันการ ปัญหาของโรคไข้หวัดใหญ่ในขณะนี้คือวัคซีนไม่สามารถป้องกันโรคที่ เกิดจากเชื้อที่ต่างสายพันธุ์จากไวรัสที่ใช้ทำวัคซีนได้ ในขณะที่ไวรัสที่เป็นสาเหตุในแต่ละปีเปลี่ยนสายพันธุ์ไปเรื่อยๆ ทำให้ต้องเตรียมวัคซีนใหม่ทุกปีและคนก็ต้องฉีดวัคซีนทุกปี ผู้ที่แพ้โปรตีนจากไข่ไม่สามารถรับวัคซีนได้ เนื่องจากไวรัสที่ใช้เป็นวัคซีนต้องเพาะเลี้ยงในไข่ไก่ฟักปลอด เชื้อ รวมทั้งอาจมีไข่ไก่ฟักไม่เพียงพอในกรณีที่ต้องผลิตวัคซีนจำนวนมาก หากมีการระบาดใหญ่และมีความต้องการวัคซีนจำนวนมาก ประเทศไทยไม่สามารถผลิตวัคซีนได้เอง วัคซีนที่มาจากต่างประเทศไม่สามารถป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อที่ อุบัติใหม่จากการเปลี่ยนพันธุกรรมของไวรัสได้ ประกอบกับตอนนี้มีไวรัสไข้หวัดใหญ่ดื้อยาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้การรักษาด้วยยาต้านไวรัสที่มีล้มเหลวและผู้ติดเชื้อต้องเสียชีวิตจำนวน ไม่น้อย ดังนั้นทีมวิจัยจึงจะผลิตแอนติบอดีของคนชนิดโมเลกุลเล็กที่เรียก ว่าแอนติบอดีสายเดี่ยวซึ่งจะเข้าไปจับไวรัสในเซลล์ที่ติดเชื้อ ได้ จากแอนติบอดีต้นแบบที่มีอยู่แล้วในห้องปฏิบัติการวิจัย ในรูปแบบที่สามารถนำไปขยายการผลิตในอุตสาหกรรมได้ เพื่อพร้อมฉีดให้แก่ผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่หรือไข้หวัดนก ซึ่งน่าจะเป็นรูปแบบหนึ่งของการพึ่งตนเองของประเทศด้วยวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยี


ทีมวิจัยยัง มีแผนการสำหรับการผลิตแอนติบอดีหรือภูมิคุ้มกันพร้อมใช้สำหรับ รักษาโรคตับอักเสบชนิดซี ที่เกิดจากการ ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี หรือเอชซีวี (HCV) ซึ่งมีประชากรโลกติดเชื้อนี้ประมาณสองร้อยล้านคนรวมทั้งคนไทย และแต่ละปีมีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มอีกสามถึงสี่ล้านคน การติดเชื้อเอชซีวีเรื้อรังมีผลให้เกิดมะเร็งตับ ตับแข็ง หรือตับวายได้ ขณะนี้ไม่มีวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบซี การรักษาโรคนี้จึงต้องกินและฉีดยาต่อเนื่องเป็นเวลานานถึงหกเดือน หรือหนึ่งปี ยามีราคาแพง หมดอายุเร็ว ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ และที่สำคัญคือยาออกฤทธิ์ข้างเคียงที่ทำให้ผู้ที่ได้รับยาส่วน หนึ่งป่วยมากจนทนไม่ไหว เช่น เม็ดเลือดแตก ทำให้เลือดจาง         มีอาการทางระบบประสาท เป็นต้น รวมทั้งมีเชื้อไวรัสเอชซีวีดื้อยาเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทีมวิจัยมีแนวคิดในการรักษาโรคตับอักเสบซีแบบใหม่คือการใช้ แอนติบอดีสายเดี่ยวหรือแอนติบอดีจิ๋วของคนที่มีความจำเพาะต่อ โปรตีนสำคัญของไวรัส โดยแอนติบอดีเหล่านี้สามารถเข้าเซลล์ได้เองเพื่อไปขัดขวางการ เพิ่มจำนวนของไวรัสในเซลล์ของตับ และยับยั้งไม่ให้โรคลุกลามกลายเป็นโรคตับระยะสุดท้าย โดยที่ขณะนี้ทีมวิจัยมีแอนติบอดีต้นแบบที่สามารถยับยั้งการเพิ่ม จำนวนของไวรัสตับอักเสบซีหลากหลายสายพันธุ์อยู่แล้ว ซึ่งในการวิจัยจะมีการพัฒนาการผลิตแอนติบอดีที่มีประสิทธิภาพดี เหล่านี้ในรูปแบบที่สามารถนำไปขยายการผลิตในอุตสาหกรรมได้ เพื่อใช้ทดสอบทางคลินิกต่อไป

 
การทดสอบ วัคซีนรักษาโรคภูมิแพ้แบบใหม่ ที่เตรียมจาก สารก่อภูมิแพ้บริสุทธิ์ชนิดพ่นหรือหยอดจมูก ที่ทีมวิจัยพัฒนาขึ้นเอง และทดสอบมาแล้วว่าได้ผลดีในสัตว์ทดลองที่ทำให้เป็นโรคภูมิแพ้ คือสามารถเบี่ยงเบนร่างกายให้ตอบโต้ต่อสารก่อภูมิแพ้แบบที่ไม่ทำให้ เกิดอาการแพ้อีกต่อไป เพื่อให้หายขาด ลดหรือเลิกใช้ยาและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย


การศึกษา เพื่อค้นหาองค์ความรู้เกี่ยวกับสารพิษและสารก่อภูมิแพ้ในพิษของ แมลงขาข้อ คือผึ้ง มด และต่อหัวเสือ และการพัฒนาน้ำยาเพื่อตรวจวินิจฉัยและประเมินสภาวะการแพ้ของคนที่ ถูกแมลงเหล่านี้ต่อยและมีอาการรุนแรง เช่น ช๊อค หรือแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก ซึ่งถ้ารักษาไม่ทันอาจเสียชีวิตได้ แมลงขาข้อที่เป็นพิษเหล่านี้ในประเทศไทยต่างจากแมลงขาข้อที่เป็น สาเหตุในต่างประเทศ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีน้ำยาเพื่อตรวจวินิจฉัยและประเมินสภาวะการ แพ้ที่ตรงกับสายพันธุ์ที่คนไทยแพ้ ซึ่งเป็นนวัตกรรมเพื่อพึ่งตนเองของการบริการทางการแพทย์ และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาผู้ป่วย ซึ่งถึงแม้จะมีจำนวนไม่มากเมื่อเทียบกับโรคติดเชื้อหลายๆ โรค แต่ก็เป็นอันตรายมากสำหรับคนที่แพ้เพราะอาจเสียชีวิตได้

ที่มา : http://www.nstda.or.th